กรุงเทพมหานครอมรรัตนโกสินทร์
กรุงเทพมหานครอมรรัตนโกสินทร์
กรุงเทพมหานครอมรรัตนโกสินทร์ 


            เป็นราชธานีไทยในปัจจุบัน สร้างขึ้นแทนพระนครกรุงธนบุรี พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายราชธานีใหม่มาอีกฝั่งตรงข้ามของกรุงธนบุรี โดยให้เหตุผลทางยุทธศาสตร์เป็นสำคัญ

         ประการแรก ราชธานีใหม่ซึ่งอยู่ทางฝั่งตะวันออกนั้น ลักษณะแผ่นดินเป็น หัวแหลม อีกทั้งมีแม่น้ำคูเมืองทางด้านทิศตะวันตกและทิศใต้ เป็นชัยภูมิรับศึกได้เป็นอย่างดี ทำให้ข้าศึกทัพมาถึงพระนครได้ยาก

         ประการที่ 2 ทางฝั่งพระนคร มีลักษณะเป็นเมืองอกแตกแบบเมืองพิษณุโลก ซึ่งเคยเป็นสมรภูมิสู้รบกับพม่ามาแล้ว เป็นยุทะภูมิในการตั้งรับข้าศึก อีกทั้งยังมีแม่น้ำเจ้าพระยาที่มีขนาดใหญ่ และมีความลึกมาก ทำให้ไม่สะดวกในการสว่งทหารข้ามไปมาระหว่างกัน

         ประการที่ 3 บริเวณโดยรอบๆ กรุงธนบุรี เป็นที่ตั้งของวัดเก่าแก่ที่สำคัญ 2 แห่ง คือ วัดอรุณวราชราม และวัดท้ายตลาด หรือ วัดระฆัง โฆษิตาราม ในปัจจุบัน ทำให้การขยายนครเป็นไปได้อย่างไม่สะดวกนัก

         ประการที่ 4 กรุงธนบุรีลัษณะเป็นคุ้มน้ำ ทำให้มีน้ำเซะตลิ่งได้ง่าย ไม่เหมาะสำหรับพระนคร จึงได้ตัดสินพระราชหฤทันย้ายพระราชวังมาอยู่ฝั่งพระนครในปัจจุบัน

         ราชธานีใหม่เริ่มสร้าง ในปี พ.ศ.2326-2329 ใช้เววลาสร้างนานถึง 3 ปี มีกำแพงเมืองและคูคลอง รวมถึงป้อมปราการที่มั่นคง และพระมหาราชวัง พระองค์ทรงพยายามจัดผังเมือง ให้มีความคล้ายคลึงกับกรุงศรีอยุธยามากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดหลักของพระนคร คือ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง นอกจากนี้ ยังมีวัดมหาธาตุ วัดราชบูรณะ และวัดเชตุพลวิมลมังคลาราม ( วัดโพธิ์ ) ทั้งนี้เป็นขวัญกำลังใจแก่ประชาชนว่า ประเทศไทยเราได้ฟื้นฟูขึ้นมาใหม่แล้ว

         เมื่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ พระองค์ทรงพระราชทานนามราชธานีใหม่แห่งนี้ว่า " กรุงเทพมหานครอมรรัตนโกสินทร์ " จวบจนปัจจุบันกรุงรัตนโกสินทร์มีอายุ 220 ปี เป็นราชธานีที่มั่นคงและสวยงาม เพียบพร้อมไปด้วยศิลปวัฒนธรรมที่สืบต่อกันหลายยุคสมัย

                                                  ที่มา หนังสือ ชื่อนี้มีที่มา